วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองของสมัยสุโขทัย


ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย
แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้

1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย

2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพื่อให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
ลักษณะการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1.) เมืองหลวง - สุโขทัย เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2.) หัวเมืองชั้นใน - ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน เป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
ทิศเหนือ เมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)
ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร )
ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร
3.) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก (สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี (อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
นอกจากนี้ ยังมีเมืองประเทศราช ได้แก่
ทิศตะวันออก เมืองน่าน เมืองเซ่า (เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
ทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี

ที่มา :: http://www.dopa.go.th/history/suk.htm
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=106.0
แบบทดสอบหลังเรียน

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความทรงสีจางT T

ไคคนหนึ่ง คนนั้่น ในวันหนึ่ง วันนั้น

เคยผูกพันกัลซะมากมาย

เพราะวันที่ห่างเหิน มันก้เริ่มห่างหาย

เพียงแค่เพราะเรามั่ยเจอะกัล


มั่ยเรียกร้องให้กลับมา หรือว่าผลักไส หรืออะำรัยทั้งนั้น

เก็บเอาไว้ในส่วนลึก ซ่อนยุอย่างนั้น รุว่ามันมั่ยไปไหน

แม้กระทั่งตอนนี้ เขายังยุตรงนั้น ในภาพทรงจำสีจางจาง


เหมือนว่าจะเลือนหาย คล้ายว่าจะเลือนลาง

บางอย่างก้ยังมั่ยเปี่ยนไป


มั่ยเรียกร้องให้กลับมา หรือว่าผลักไส หรืออะรัยทั้งนั้น

เก็บเอาไว้ส่วนลึก ซ่อยยุอย่างนั้น รุว่ามันมั่ยไปไหน

แม้กระทั่งตอนนี้ เขายังยุตรงนั้น ในภาพทรงจำสีจางจาง


...ในความทรงจำสีจาง